“พระแสงโมเดล: โมเดลระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออก 74 หมู่บ้านและ 6 ชุมชน”

อีก 1 ใน 3 อำเภอนำร่องจากอำเภอทั้งหมดของจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยความร่วมมือของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอพระแสง และศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิจัยและบริการวิชาการโรคไข้เลือดออก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นับเป็นอีกหนึ่งอำเภอของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและพร้อมที่จะร่วมมือร่วมใจกันแก้ไขปัญหานี้ ซึ่งได้เปิดตัวในโครงการ “พระแสงโมเดล” เครือข่ายระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน รองศาสตราจารย์ ดร. จรวย สุวรรณบำรุง หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิจัยและบริการวิชาการโรคไข้เลือดออก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้กล่าวว่า “พระแสงโมเดล” เป็นการดำเนินการที่มีต้นแบบมาจาก “ลานสกาโมเดล” และ “ไชยาโมเดล” หากมีการดำเนินการที่เต็มรูปแบบและต่อเนื่องเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ จะสามารถสร้างความตื่นตัวของประชาชนและนำไปสู่การลดลงของอัตรการเกิดโรคไข้เลือดออกได้ ในครั้งนี้ “พระแสงโมเดล” ได้เริ่มดำเนินการเปิดโครงการในวันที่ 18 มิถุนายน 2561 พร้อมทั้งดำเนินการโครงการให้ความรู้สู่กลุ่มเป้าหมายต่อเนื่อง ตั้งแต่ 19-22 มิถุนายน 2561 ณ ห้องประชุมวิภาวดี อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี รวมผู้เข้าประชุมทั้งสิ้น 932 คน โดยมีนายธวัช หงษ์บิน นายอำเภอพระแสง เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม และนายบรรเจิด อินทร์คง สาธารณสุขอำเภอพระแสง เป็นผู้กล่าวรายงานการประชุม ซึ่งในการโครงการครั้งนี้ยังได้รับความร่วมมือจาก 1) เครือข่ายสุขภาพอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี นำโดยนายอำเภอพระแสง สาธารณสุขอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายแพทย์ดิเรก วงศ์ทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระแสง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. … Continue reading “พระแสงโมเดล: โมเดลระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออก 74 หมู่บ้านและ 6 ชุมชน”